ธรรมชาติ ของแมงกะพรุนคืออาศัยอยู่ในทะเล ถือเป็นสัตว์น้ำเค็ม ส่วนที่พบที่หนองแม่นานั้นตาม ทฤษฏีทางธรณีวิทยามีข้อสมมติฐานว่า พบแมงกะพรุนมาตั้ง แต่ยุคพรีเคมเบรียน ยุคนั้นโลกยังเป็น Water world หลักฐานทางธรณีวิทยาจังหวัดเพชรบูรณ์พบว่าแผ่นดินยกตัวขึ้นมาจากทะเลในสมัย ไตรแอคสิกตอนปลาย มีหลักฐานการค้นพบรอยตีนบรรพบุรุษไดโนเสาร์ที่หน้าผาหิน บริเวณบ้านนาพอสอง อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ เมื่อนำมาประกอบกับการวิจัยแมงกะพรุนน้ำจืด เป็นไปได้ว่าแมงกะพรุนที่อยู่ในสภาพโพลิป ติดขึ้นมากับแผ่นดินที่ยกตัวสูงขึ้นจากทะเล และน้ำทะเลกลายมาเป็นน้ำจืด แมงกะพรุนจึงเกิดการปรับตัววิวัฒนาการมาเป็นแมงกะพรุนน้ำจืด
ขณะที่มีรายงานการค้นพบแมงกะพรุนน้ำจืดในประเทศไทย 2 สายพันธุ์ คือ Craspedacusta Sinensis แมงกะพรุนน้ำจืดสายน้ำนิ่ง พบได้แถบลุ่มน้ำโขง เช่น น่าน เลย สกลนคร นครพนม มุกดาหาร และ Craspedacusta sowerbyi แมงกะพรุนสายน้ำไหล พบได้ที่เพชรบูรณ์แห่งเดียวในขณะนี้ และเป็นแห่งที่สองของโลกที่พบแมงกะพรุนน้ำจืดปรากฏตัวอยู่บนภูเขาสูง แห่งแรกอยู่ที่เทีอกเขาแอปปาเลเชี่ยนในสหรัฐอเมริกา อาหารของแมงกะพรุนคือแพลงค์ตอนสัตว์ จะปรากฏตัวในช่วงเดทือนมีนาคม-พฤษภาคม ของทุกปี โดยมีสภาพธรรมชาติเป็นผู้กำหนด
แหล่ง ที่พบแมงกะพรุนน้ำจืดบนเขาค้อ คือแก่งบางระจัน เป็นส่วนหนึ่งของลำน้ำเข็ก อยู่ติดกับอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ด้านที่เข้าจากทางเขาค้อ ต.หนองแม่นา อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ความสำคัญของแก่งบางระจันคือความสวยงามของกระแสน้ำในช่วงฤดูฝน และฤดูหนาว ที่มีกระแสน้ำไหลแรงตลอดเส้นทางชาวบ้าน และนักท่องเที่ยวได้เข้าไปพักผ่อนเล่นน้ำกันอย่างสนุกสนาน ขณะที่ในฤดูแล้ง กระแสน้ำแทบไม่มีการไหวติง ซึ่งกลายเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของที่นี่ เพราะเป็นช่วงที่แมงกะพรุนน้ำจืด ปรากฏกายออกมาบนแก่งน้ำขังนิ่งบนภูเขาแห่งนี้
นับร้อยนับพันตัว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น